เมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยอย่างหนัก หลายพื้นที่หลายจังหวัดได้รับความเสียหายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ สถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่ง รวมถึงพื้นที่เพาะปลูกทำการเกษตรของประชาชนหลายแสนไร่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญสำหรับคนไทยได้บริโภคเพื่อดำรงชีวิต และยังสามารถส่งออกเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่ามากมาย สร้างรายได้ให้กับประเทศชาติอย่างมหาศาล ก็พลอยถูกผลกระทบจากวิกฤตอุทกภัยในครั้งนี้ ทำให้ได้รับความเสียหายอย่างประเมินค่าไม่ได้ หลายชีวิตต้องหมดสิ้นเนื้อประดาตัว หลายชีวิตต้องมาสูญเสียไปอย่างไม่ควรจะเป็น และอีกหลายชีวิตยังคงต้องประสบกับปัญหาอื่นๆที่ตามมาจากเหตุการณ์ครั้งนี้
ในส่วนของภาครัฐและหน่วยงานที่มีอำนาจรับผิดชอบในการบริหารจัดการ ก็ไม่ได้ทำหน้าที่ตามความสามารถของตนอย่างเต็มกำลัง ทำให้การบริหารจัดการเรื่องน้ำมีความผิดพลาด มิหนำซ้ำ เมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัยขึ้นก็ไม่ได้มีการจัดการเพื่อเร่งช่วยเหลือประชาชนให้ทันท่วงที ทำให้ความเสียหายและความเดือดร้อนเพิ่มมากขึ้นเกินกว่าจะควบคุมได้ แม้จะมีข้อมูลแนะนำที่ดีและเหมาะสมจากหลายฝ่ายที่ออกมาบอกกล่าวเพื่อเป็นแนวทางให้ภาครัฐได้ปฏิบัติตาม แต่ก็ไม่ได้ตอบรับและดำเนินการจากภาครัฐเลยแม้แต่น้อย ทำให้ประชาชนต่างหมดความไว้ใจในวิธีการจัดการแก้ปัญหาของภาครัฐ และหันมาพึ่งพาตนเองกันด้วยวิธีการต่างๆเพื่อบรรเทาสถานการณ์ให้ดีขึ้น
และในปีนี้ 2555 หลายฝ่ายได้ออกมาให้ความเห็นในลักษณะของการเตือนถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงปริมาณของน้ำที่คาดว่าจะมีจำนวนสูงกว่าปีที่ผ่านมา เพื่อให้ภาครัฐเร่งรีบดำเนินการหาแนวทางเตรียมการป้องกันล่วงหน้า เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา แต่จากการนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่างๆ ก็ไม่เห็นการเตรียมความพร้อมของภาครัฐในการรับมือสถานการณ์น้ำที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ทำให้ประชาชนมีความวิตกกังวลกับเรื่องนี้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
หากย้อนเวลาไปประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา มีบุคคลผู้หนึ่งซึ่งมีความมุ่งมั่นในการหาแนวทางจัดการน้ำ และได้ให้คำแนะนำมากมายเพื่อเป็นแนวทางให้เรื่อยมา บุคคลผู้นั้นก็คือ "พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล" พระองค์ท่านทรงพระราชทานคำแนะนำต่างๆให้กับข้าราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม ดังนั้น บทความนี้จึงขอนำพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานมาเผยแพร่ให้รับทราบ เพื่อเป็นความรู้และประโยชน์สำหรับทุกๆท่านในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเหมาะสมต่อไป----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2512
"...อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมจึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือเรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ 10 ขวบ ที่โรงเรียนมีครู ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้ว สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดิน แล้วให้เขียนว่าภูเขาต้องมีป่าไม้อย่างนั้น เมื่อเม็ดฝนตกลงมาแล้ว จะชะดินลงมาเร็ว ทำให้ไหลตามน้ำไป ทำความเสียหายดินหมดจากภูเขา เพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ และเป็นหลักของชลประทาน ที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้ เดือดร้อนตลอดทั้งดินบนภูเขาจะหมดไป กระทั่งมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำ ทำให้น้ำท่วม นี้นะ เรียนมา ตั้งแต่ อายุ 10 ขวบ..."
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
"... การทำฝนเทียมนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย จะต้องมีเครื่องอุปกรณ์ วัสดุ และเจ้าหน้าที่ งานที่ทำนี้ก็ต้องส้ินเปลืองไม่ใช่น้อย แต้ถ้าผลที่ได้ คือจะเป็นผลที่น่าพอใจ การทำฝนนี้ เป็นสิ่งที่ลำบากหลายๆ ประการ ทางด้านเทคนิค และในด้านจังหวะที่จะทำ เพราะถ้าพูดถึงด้านเทคนิค ฝนที่ทำนี้ จะพลิกฤดูการไม่ได้ ไม่ใช่ว่าฝนแล้งจะบันดาลได้อย่าง ปาฎิหาริย์ทำให้มีฝนเพียงพอกับการเพาะปลูกมิได้ หรือจะแทนการ ชลประทานที่ขุดเรียบร้อยกว้างขวางก็ไม่ได้ แต่เป็นทางหนึ่งที่มีหวัง สำหรับฤดูกาลที่ควรจะมีฝน และฝนเทียมจะช่วยให้ประคองพืชผล ไม่ให้สิ้นไปพอได้ การทำฝนเทียมนี้เป็นสิ่งที่ใหม่ จึงต้องทำโครงการ อย่างระมัดระวัง เพราะว่าสิ้นเปลือง ถ้าทำแล้วไม่ได้ผลจะสิ้น เปลืองโดยใช่เหตุ..."
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระราชดำรัส วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2521 อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
"...ให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูง ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝาย ดังกล่าวจำเป็นต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำ ไว้ได้ปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่ แข็งแรง และโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้ง อย่างสม่ำเสมอ โดยการจ่ายน้ำไปรอบๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้..."
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระราชดำรัส "การป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ" เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2538
พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2532 ณ ดอยอ่างขาง เชียงใหม่
"...สำหรับต้นน้ำ ไม้ที่ขึ้นอยู่บริเวณสองข้างลำห้วย จำเป็นต้องรักษา ไว้ให้ดี เพราะจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตามร่องน้ำและบริเวณที่น้ำซับ ก็ควรสร้างฝายขนาดเล็ก กั้นน้ำไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้น แม้จะมีจำนวนน้อยก็ตาม สำหรับแหล่งน้ำ ที่มีปริมาณน้ำมาก จึงสร้างฝายเพื่อผันน้ำ ลงมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก...ควรสร้างฝายต้นน้ำลำธารตามร่องน้ำ เพื่อช่่วยชะลอกระแสน้ำ และกักเก็บน้ำ สำหรับสร้างความชุ่มชื้นให้กับบริเวณต้นน้ำ..."
"...สำหรับต้นน้ำ ไม้ที่ขึ้นอยู่บริเวณสองข้างลำห้วย จำเป็นต้องรักษา ไว้ให้ดี เพราะจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตามร่องน้ำและบริเวณที่น้ำซับ ก็ควรสร้างฝายขนาดเล็ก กั้นน้ำไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้น แม้จะมีจำนวนน้อยก็ตาม สำหรับแหล่งน้ำ ที่มีปริมาณน้ำมาก จึงสร้างฝายเพื่อผันน้ำ ลงมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก...ควรสร้างฝายต้นน้ำลำธารตามร่องน้ำ เพื่อช่่วยชะลอกระแสน้ำ และกักเก็บน้ำ สำหรับสร้างความชุ่มชื้นให้กับบริเวณต้นน้ำ..."
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
********************************************************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น